พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร ดียังไง 農業の天気予報
คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของทุกสิ่งทุกอย่าง
ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นปี ในช่วงปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะไปทักทายครอบครัว ญาติ เพื่อน หัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานโดยตรง หากไม่สามารถพบกันได้ คนญี่ปุ่นจะส่งการ์ดปีใหม่ทักทายกัน หรืออาจจะทักทายโดยตรงและส่งการ์ดปีใหม่ทั้งสองอย่าง
ในตอนสิ้นปี คนญี่ปุ่นชอบจัด “忘年会 (Bo-nenkai)” เป็นปาร์ตี้สำหรับขอบคุณเพื่อนๆในปีนี้ที่อยู่ด้วยกัน และขอโทษที่ทำผิดพลาดหลายอย่าง และปีหน้าก็จะอยู่ด้วยกันหรือทำงานด้วยกันต่อไป
นอกจากเรื่องช่วงปีใหม่ มาอิก็คิดว่าการออกแบบของบ้านของคนญี่ปุ่นก็คล้ายๆกัน คนญี่ปุ่นให้สำคัญกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเขตของบ้านด้วย เช่นคนญี่ปุ่นแบ่งภายในบ้านและภายนอกบ้านแบ่งอย่างชัดเจน มีการปฏิบัติและประเพณีมากมายภายในบ้าน เช่นวิธีจัดรองเท้า วิธีถอดเสื้อโค้ทเป็นต้น
นอกจากสองจุดนี้ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดกับคนญี่ปุ่นกับคนไทยคือเวลาเริ่มงาน คนญี่ปุ่นต้องมาถึงที่ทำงานอย่างน้อยห้านาทีก่อนเริ่มงานทุกวัน จนถึงเวลาเกษียณ ถ้าฝนตกหนักมากหรือลมแรงมากคนญี่ปุ่นก็จะไม่มาทำงานสาย สมัยมาอิเป็นพนักงานออฟฟิศที่ญี่ปุ่น ตอนเช้าก่อนที่มาอิจะออกจากบ้านไปทำงาน มาอิมักจะดูทีวีตรวจสอบการพยากรณ์อากาศของวันนี้ก่อน เพื่อที่จะรู้ว่าวันนี้ฝนจะตกหรือไม่ ต้องเอาร่มไปด้วยไหม เพราะว่าคนญี่ปุ่นไม่สามารถใช้เหตุผลว่าฝนตกสำหรับการไปทางานสายหรือนัดกับลูกค้าสายได้ ดังนั้นถ้าฝนตกมาอิจะต้องมีร่มจากสถานีรถไฟ และรู้สึกว่าไปออฟฟิศจะใช้เวลานานกว่าปกติ มาอิต้องตื่นเช้าและพยายามขึ้นรถไฟเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อพายุไต้ฝุ่นมาและหิมะตกหนักมาก เราจำเป็นต้องดูการพยากรณ์อากาศ
นอกจากนี้เรายังมีสิ่งที่ได้รู้จากการพยากรณ์อากาศญี่ปุ่นเยอะมาก ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิ ความชื้นของวันนี้ สิ่งเหล่านี้สามารถให้คำแนะนำเราได้ว่าควรใส่เสื้อผ้ากี่ชั้น หรือวางแผนเวลาที่ควรจะซักผ้า เราได้รับข้อมูลอย่างละเอียดมากและข้อมูลนี้กลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตของคนญี่ปุ่นไปแล้ว
กรมอุตุนิยมวิทยาจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ นอกจากการพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยายังเป็นสถาบันที่บอกข้อมูลแผ่นดินไหว ข้อมูลภูเขาไฟ และข้อมูลสึนามิด้วย
กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะประกาศการพยากรณ์อากาศโดยใช้ Amedas Amedas ย่อมาจาก Automated Meteorological Data Acquisition System เป็นระบบสังเกตสภาพอากาศในภูมิภาค กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใช้ระบบนี้รวบรวมข้อมูลพยากรณ์อากาศและทำนายผลอากาศในอนาคต
กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใช้ระบบ Amedas ตั้งแต่ปี 1974 มีจุดสังเกตข้อมูลปริมาณน้ำฝน 1,300 ที่ในประเทศญี่ปุ่น จุดสังเกตข้อมูล ตรวจสอบปริมาณฝน ทิศทางลม ความเร็วลมและอุณหภูมิ เวลาที่มีแสงแดดด้วย นอกจากนี้ 320 ใน 1,300 จุด จะสังเกตข้อมูลในภูมิภาค สังเกตปริมาณหิมะและความลึกของหิมะ ข้อมูลที่รวบรวมของจุดสังเกตจะถูกส่งโดยอัตโนมัติ ใช้ข้อมูลนี้เพื่อการป้องกันและลดภัยพิบัติ และทำนายสภาพอากาศ นอกจากนี้ใช้ Himawari, เครื่องอุตุนิยมวิทยาดาวเทียม และซูปเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศต่างๆ
นอกจากข้อมูลพยากรณ์อากาศทั่วไปแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เผยแพร่ข้อมูลสภาพอากาศด้านการเกษตรต่างๆอีกด้วย เพื่อช่วยเกษตรกรใช้ข้อมูลนี้ปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร ช่วยลดปัญหาพืชที่ใช้ไม่ได้เนื่องจากภัยพิบัติ สภาพอากาศ หรือลดความเสี่ยงของจำนวนอุบัติเหตุหรือผู้เสียชีวิต เนื่องจากภัยพิบัติสภาพอากาศ ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเกษตรกรนั้นจะนำไปใช้โดยตรง หรือนำไปใช้สำหรับคำแนะนำทางเทคนิคการเกษตรดำเนินการในแต่ละจังหวัดด้วย
ในอนาคตทีมกาดใหญ่มีแผนจะนำเทคโนโลยีพยากรณ์อากาศที่ล้ำหน้าในแบบญี่ปุ่นมาปรับใช้ในประเทศไทย ทีมกาดใหญ่เชื่อมั่นว่าข้อมูลพยากรณ์อากาศเกษตรเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการวางแผนการต่างๆในการเกษตรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน
それらの情報は国の気象庁という組織から出されます。国土交通省の外局にあたります。天気予報のほかにも地震情報や火山情報、津波情報を出す機関です。
アメダスは、Automated Meteorological Data Acquisition Systemの略で気象庁の地域気象観測システムのことです。1974年11月1日に運用を開始して、降水量を観測する観測所は全国に約1,300か所(約17km間隔)あります。 このうち、約840か所(約21km間隔)では降水量に加えて、風向・風速、気温、日照時間を観測しているほか、雪の多い地方の約320か所では積雪の深さも観測しています。観測データが自動的に送られ、これらのデータを元にして天気を予測し、気象災害の防止・軽減に重要な役割を果たすと共に、天気予報を発表しています。このほかにも、気象衛星の「ひまわり」や最新のスーパーコンピュータを使って、さまざまな気象情報を分析しています。
気象庁では、気象に起因する農業災害を防止・軽減し、農業の生産性の向上を図るため、様々な気象情報を発表しています。これらの気象情報を、各都道府県で実施されている農業技術指導などに一層役立てていただくため、全国11地方それぞれに対応した「農業に役立つ気象情報の利用の手引き」を作成しました。
地方ごとの気象特性等に応じたこれらの手引きには、「気象情報の入手方法」、「どのような情報がいつ発表されるか」、「農業気象災害が発生しやすい気象条件」、「農業気象災害の発生が予想されるときに気象台と都道府県が作成する情報の流れ」などを掲載しています。
都道府県の農政担当部局の方や農業普及指導員の方をはじめ、農業団体や農業従事者の方など、どなたでもご利用いただけますので、ぜひご活用ください。
ガートヤイではこれらのモデルを参考に、天気用法をタイの農業分野で活用し、効率的な作物の集荷に役立つ情報の発信を計画しています。